วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

น้ำสมุนไพร


สมุนไพร เป็นทรัพยากรธรรมชาติ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงส่วนของ พืชที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค แต่ในความจริงคือส่วนประกอบที่ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาใช้สำหรับทำเครื่องยา ตัวอย่างเช่น
- สมุนไพรจากพืช ได้แก่ ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ขิง ใบเตย กะเพรา ว่านหางจระเข้ ผักคะน้า ผักตำลึง ส้ม แตงโม เป็นต้น
- สมุนไพรจากสัตว์ ได้แก่ เขากวาง เป็นต้น
- แร่ธาตุที่ใช้เป็นสมุนไพรได้แก่ น้ำปูนใส เกลือแกง ดีเกลือ เป็นต้นนอกจากนั้น ยังมีบางส่วนของสมุนไพรที่รับประทานไม่ได้ยังสามารถ ใช้ทำยาภายนอกได้ เช่น ช่วยป้องกันยุงกัด รักษาบาดแผล เป็นต้น
ดังนั้น น้ำสมุนไพรจึงเป็นน้ำดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของพืช เช่น ผลไม้ ผัก/ธัญพืชต่าง ๆ นำมาแปรรูปให้เหมาะสมตามฤดูกาล การเตรียมนำสมุนไพรไว้ดื่มเองนั้น ราคาจะย่อมเยา สะอาด ปราศจากสารพิษ รสชาติจะถูกปากของแต่ละบุคคลได้ทั้งกลิ่นและรสตามธรรมชาติของสมุนไพร นั้น ๆ
ร่างกายของคนเรามีส่วนประกอบของน้ำประมาณร้อยล 80 น้ำจึงมี ความสำคัญต่อการดำรงชีวิตรองจากอากาศ ร่างกายต้องใช้น้ำไปช่วยให้ระบบ ต่างๆในร่างกายทำงานได้ตามปกติน้ำในร่างกายจะมีการสูญเสียวันละประมาณ 2 - 3 ลิตร ถ้าเราไม่ดื่มน้ำเข้าไปชดเชย จะทำให้เกิดการกระหายน้ำ ฉะนั้นเรา จึงต้องดื่มน้ำเข้าไปทดแทนเท่ากับที่เสียไป แต่ในบางครั้งความกระหายทำให้ คนยังยึดติดในรสชาติ จึงมักหันไปดื่มน้ำที่ให้รสชาติ เช่น น้ำสมุนไพรซึ่งมี ประโยชน์ทางยา มีคุณค่าทางอาหารและช่วยในการป้องกันโรค เป็นต้น โดย เฉพาะในช่วงอากาศร้อน เหงื่อออกมาก ดื่มน้ำสมุนไพรก็จะช่วยให้จิตใจชุ่มชื่น ทำให้รู้สึกสบาย เพราะน้ำสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยผ่อนคลายความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง เช่น น้ำมะขาม ช่วยลดอาการกระหายน้ำ น้ำ สมุนไพรบางชนิดช่วยบำรุงหัวใจเป็นยาเย็น ได้แก่ น้ำใบเตย น้ำใบบัวบก น้ำ สมุนไพรบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยย่อยช่วยทำให้ธาตุปกติและฟอกเลือดได้แก่ น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น น้าสมุนไพรเหล่านี้ เป็นได้ทั้งอาหารและให้คุณค่าทาง ยาได้บ้างเล็กน้อย ดังนั้น น้ำสมุนไพรจึงเปรียบเสมือนยาที่ช่วยบำรุง ปกป้อง รักษาสภาวะร่างกายให้เกิดสมดุลย์ ทำให้สุขภาพดีในที่สุด น้ำสมุนไพรมีรสชาติที่อร่อยตามธรรมชาติให้คุณค่าและประโยชน์ต่อ ร่างกายโดยตรง มีผลต่อระบบการย่อยอาหาร เจริญอาหาร ให้พลังงาน ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ร่างกายกระชุ่มกระชวย และอุดมไปด้วย วิตามิน เกลือแร่ นอกจากผิวพรรณแล้ว ยังช่วยบำรุงเส้นผมช่วยควบคุมไขมันส่วนที่ เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสารอาหารในน้ำสมุนไพรช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย ทำ ให้สารอาหารชนิดอื่นได้ประโยชน์อย่างเต็มที่การเตรียมนำสมุนไพร เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. การเลือกสมุนไพร
1.1 สมุนไพรสด เลือกที่สด เก็บมาจากต้นใหม่ ตามฤดูกาล สีสรรเป็นธรรมชาติตามชนิดของสมุนไพร ไม่มีรอยช้ำเน่าเสีย ความสดทำให้มี รสชาติดี มีคุณค่ามากกว่า
1 2 สมุนไพรแห้ง การแปรรูปสมุนไพร โดยวิธีทำให้แห้ง เป็น การเก็บรักษาสมุนไพรวิธีหนึ่ง เพื่อให้มีสมุนไพรไว้ใช้นอกฤดูกาล การเลือกซื้อ ควรดูที่ความสะอาด สีสรรไม่คล้ำมาก เช่น กระเจี๊ยบแห้ง ควรมีสีแดงคล้ำ แต่ไม่ดำ มะตูมแห้งสีน้ำตาลออกเหลือง จะต้องไม่มีกลิ่นของปัสสาวะ หรือ อุจจาระสัตว์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้รูป รส กลิ่น สี ของน้ำสมุนไพรเปลี่ยนไป
2. ความสะอาดของภาชนะและสมุนไพร
2.1 ภาชนะที่ใช้เตรียม จะต้องสะอาด เลือกใช้ให้เหมาะสมกับ ชนิดของสมุนไพร เช่นมะขาม มะม่วง สับปะรด เชอรี่มะเฟือง ฯลฯ มีรสเปรี้ยว ควรใช้ภาชนะเคลือบ เนื่องจากกรดที่มีอยู่ในสมุนไพรจะทำปฏิกิริยากับภาชนะ อะลูมิเนียม ทองเหลือง ทำให้รสชาติของน้ำดื่มสมุนไพรเปลี่ยนไป จะได้โลหะ หนักปนอีกด้วย
2.2 ภาชนะที่ใช้บรรจุหลังปรุงเสร็จ ควรเป็นพาชนะแก้ว เมื่อ บรรจุน้ำสมุนไพรแล้วต้องนึ่งฆ่าเชื้ออีกไม่น้อยกว่า 30 นาที เย็นแล้วจึงเก็บเข้า ตู้เย็น จะทำให้น้ำสมุนไพรเก็บได้นาน อีกทั้งทำให้ดูน่ารับประทาน และยืด เวลาการเน่าเสียเพราะไม่ได้ใส่สารกันบูด
2.3 ความสะอาดของตัวสมุนไพร ควรล้างให้ถูกวิธี ถ้าเป็น สมุนไพรแห้งจะต้องล้างอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ถ้าเป็นสมุนไพรสด ควรล้างอย่าง น้อย 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีที่ติดมา ซึ่งสามารถลดปริมาณสาร พิษในผักและผลไม้ได้ การล้างผักและผลไม้เพื่อลดปริมาณสารพิษ ทำได้ดังนี้
- แช่น้ำสะอาด 15 นาที ลดปริมาณสารพิษได้ ร้อยละ 7-8
- ล้างด้วยน้ำโซดา 1 เปอร์เซนต์ ลดปริมาณสารพิษได้ ร้อยละ 23-61
- ให้น้ำก๊อกไหลผ่าน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษได้ ร้อยละ 54-63
- แช่ด้วยน้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซนต์ ลดปริมาณสารพิษได้ ร้อยละ 60-84
3. น้ำตาลหรือน้ำเชื่อมจากข้อแนะนำการบริโภคอาหารของคนไทยควรได้รับไม่เกินวันละ 2 ช้อนโต๊ะ (หนัก 30 กรัม หรือ ประมาณ 2 ช้อนคาว หรือ 6 ช้อนชา) ซึ่งรวม ถึงต่าง ๆ ด้วยการรับประทานอาหารเพื่อ
ปัจจุบันได้มีผู้คิดค้นหาวิธีการรักษาโรคต่าง ๆ โดยใช้น้ำที่ทำจากผัก ผลไม้ธัญพืชต่าง ๆน้ำสมุนไพรบางชนิดจะดื่มลำบากในช่วงแรกของการดื่มอาจ จะทำให้รู้สึกอึดอัด เนื่องจากรสชาติไม่ค่อยตรงกับรสนิยมของผู้ดื่ม แต่จะ เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น วิธีการดื่มที่ดี ควรดื่มแบบจิบช้า ๆ และควรดื่ม ทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและทางยา มากกว่าปล่อยทิ้งไว้ นานแล้วดื่ม เนื่องจากจะทำให้คุณค่าลดลงนอกจากนี้ยังสามารถทำดื่มได้ทั้ง ร้อนและเย็นตามความชอบของแต่ละบุคคลการดื่มน้ำสมนไพรชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการ สะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้ การดื่มน้ำสมุนไพรร้อนๆที่มีอุณหภูมิ 60 ซ ขึ้นไปทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และอาจ ทำให้มีการดูดซึมสารก่อมะเร็ง จุลินทรีย์ ฯลฯ ได้ง่าย
น้ำสมุนไพรเป็นน้ำดื่มแปรรูปจากผัก ผลไม้ และธัญพืช หาได้ตามฤดูกาลต่างๆ ซึ่งให้ประโยชน์ ต่อร่างกายมากมาย เช่น แก้อาการกระหายน้ำ ทำให้ ร่างกายกระชุ่ม กระชวย มีชีวิตชีวา และช่วยลดสารจากร่าง กาย เป็นต้น การดื่มน้ำสมุนไพร ควรดื่มจากน้ำ สมุนไพรที่ทำขึ้นเอง เพราะสะอาดถูกสุขลักษณะ รสชาติถูกปากและประหยัดอีกด้วย นอกจากนี้ ควรดื่มน้ำสมุนไพรให้หลากหลาย เหมาะสมกับ สภาวะร่างกาย และความต้องการของแต่ละ บุคคล ก็จะช่วยให้ร่างกายเกิดสภาวะสมดุลย์ ทำให้สุขภาพดีในที่สุด
สูตรทำน้ำสมุนไพร
น้ำกระเจี๊ยบ
ส่วนผสม
- กระเจี๊ยบแห้ง 1/2 ถ้วย - น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
- เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ - น้ำสะอาด 5 ถ้วย
วิธีทำ
1.ล้างกระเจี๊ยบ 1 ครั้งให้สะอาดพักไว้
2.ใส่น้ำลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือด ใส่กระเจี๊ยบต้มจนออกสีแดงและเนื้อกระเจี๊ยบนุ่ม กรองเอาแต่น้ำ ขึ้นตั้งไฟต่อ
3.ใส่น้ำตาล เกลือป่น เคี่ยวไฟอ่อน จนน้ำตาลละลายหมด ยกลง ทิ้งไว้ให้ เย็น เทใส่ขวดแช่เย็น หรือใส่น้ำแข็งดื่มก็ได้
น้ำบัวบก
ส่วนผสม
- ใบบัวบก 2 ถ้วย - น้ำสะอาด 2 ถ้วย
- น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย - น้ำแข็ง
วิธีทำ
นำใบบัวบกที่สดๆ ใหม่ๆ ล้างน้ำให้สะอาด แช่ด่างทับทิม 15-20 นาที ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำพอควร กรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมพอหวาน ชิมรสตามใจชอบ จะได้น้ำใบบัวบกสีเขียวใส น่ารับประทาน เมื่อจะดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด รสหอมหวานชื่นใจ ดื่มแก้อาการกระหายน้ำ
น้ำมะนาว
ส่วนผสม
- น้ำมะนาว 1 ถ้วย - น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา - น้ำสะอาด 1 ถ้วย
วิธีทำ
1.ทำน้ำเชื่อม โดยผสมน้ำตาลและน้ำตั้งไฟให้ละลาย ทิ้งไว้ให้พออุ่นๆ
2.ใส่น้ำมะนาว เกลือ ลงในน้ำเชื่อม คนให้เกลือละลาย
3.ตักเสิร์ฟแบบอุ่นหรือเย็นก็ได้ โดยใส่น้ำแข็งลงในแก้ว เทน้ำมะนาวใส่ แต่งด้วยมะนาวฝาน และสะระแหน่
น้ำข้าวโพด
ส่วนผสม
- เมล็ดข้าวโพดสวีท 1 ถ้วย - น้ำต้มสุก
- เกลือป่น- น้ำมะนาว - น้ำเชื่อม
วิธีทำ
เลือกข้าวโพดพันธุ์ซุปเปอร์สวีทแท้ ๆ ที่ยังอ่อนอยู่และเก็บมาสด ๆ นำฝักข้าวโพดลวกน้ำแกะเมล็ดข้าวโพดออก ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก ปั่นให้ละเอียด กรองด้วยผ้าขาวบาง เอากากออก เติมเกลือป่น เติมน้ำมะนาว ปรับพีเอชให้ได้ ประมาณ 6.5-6.8 เติมน้ำเชื่อม ชิมรส ดูตามใจชอบ กรองด้วยผ้าขาวบางอีกครั้งหนึ่ง ใช้ดื่มได้
น้ำกล้วยหอม
ส่วนผสม
- กล้วยหอมหั่นท่อนสั้น 1 ถ้วย - นมสด 3 ช้อนโต๊ะ - น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
- เกลือป่น 1/4 ช้อนชา - น้ำต้มสุก 1 ถ้วย - น้ำแข็งบด 1 ถ้วย
วิธีทำ
1.ใส่กล้วยหอม นมสด น้ำเชื่อม เกลือป่น น้ำแข็ง และน้ำต้มลงในโถปั่น ปั่นให้เข้ากันดี
2.เทใส่แก้วทรงสูง เสริ์ฟพร้อมหลอด ดูดและไม้คน หรือแช่เย็นไม่ใส่น้ำแข็ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น