วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

อาหารเช้ามื้อสำคัญ

ความสำคัญของอาหารเช้า
เคยมีคำพูดเปรียบเทียบไว้ว่า
อาหารมื้อเช้า ให้กินอย่าง ราชา
อาหารมื้อกลางวัน ให้กินอย่าง กรรมกร
อาหารมื้อเย็น ให้กินอย่าง ยาจก
หรือ อาหารมื้อเช้า บำรุงสมอง
อาหารมื้อกลางวัน บำรุงกำลัง
อาหารมื้อเย็น บำรุงเพศ

หรือจากชาวเกาหลี อาหารมื้อเช้า 40 – 50 %

อาหารมื้อกลางวัน 30 – 40 %
อาหารมื้อเย็น 10 – 20 %
แต่ในปัจจุบัน ด้วยสาเหตุใดก็ตาม คนส่วนใหญ่กลับทำตรงกันข้าม

ความสำคัญของอาหารมื้อเช้า คือ
- เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรับประทานอาหารมื้อเช้าคือ 7.00 – 9.00 น เพราะเป็นช่วงเวลาที่กระเพาะอาหาร เริ่มทำงาน
- ถ้าไม่มีอาหารลงไปในกระเพาะ การบีบรัดตัวของกระเพาะจะไปเอาอุจจาระกลับเข้ามาย่อยซ้ำ
- สารที่ย่อยจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษจากอุจจาระ (แทนที่จะเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์) ฉะนั้น คนที่ท้องผูกบ่อย อุจจาระที่ถ่ายออกมาจะเป็นเม็ดแข็งเพราะถูกย่อยซ้ำและถูกดูดน้ำออกไปซ้ำอีก

ผลเสียของการไม่รับประทานอาหารมื้อเช้า
- ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้างพลังงานและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ
- เลือดไม่สะอาด ทำให้อวัยวะต่างๆไม่แข็งแรง
- สมองไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ ทำให้ไอคิวต่ำ เฉื่อย ขาดความว่องไว ความจำไม่ดี ขาดความกระตือรือร้น
- ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นเวลานาน กระเพาะจะไม่แข็งแรง การขับถ่ายไม่ดี ตัวเหลว กล้ามเนื้อเหลว ผิวเหี่ยวและคล้ำ แก่เร็ว ภูมิต้านทานลด ปวดหัว ปวดเข่า ความจำเสื่อม เป็นอัลไซเมอร์ ถ้าไม่สะดวกในการรับประทานอาหารเช้า แค่ โยเกิร์ต 1 ถ้วยกับกล้วยน้ำว้า 1 ลูกก็ยังดี โยเกิร์ตดีสำหรับกระเพาะและลำไส้ กล้วยน้ำว้าอุดมด้วยโปรตีนและวิตามิน เอ ซี และอี และย่อยง่าย ควรมีกล้วยน้ำว้าติดบ้านเสมอ การดื่มกาแฟแทนอาหารเช้าไม่ได้ประโยชน์ และอาจเป็นโทษด้วยจากสารคาเฟอีน

อาหารมื้อเช้า ช่วยควบคุมน้ำหนัก
อาหารมื้อเช้า ไม่เพียงแต่จะช่วยคุณรักษาสุขภาพและทำให้ผอมเพรียว แต่ยังเป็นวิธีการเห็นความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะแบบง่าย ๆ ด้วย งานวิจัยจำนวนมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า นี่คืออาหารมื้อที่สำคัญที่สุดของวันด้วย เหตุผลต่อไปนี้
- ทำให้เราได้รับสารอาหารครบถ้วนขึ้น อาหารเช้าง่ายๆ อย่างขนมปังกับแยม
- ซีเรียล นม และผลไม้ ก็ให้สารอาหารมากมาย ทั้งแคลเซียม วิตามินบี 6 โฟเลต
- ไรโบฟลาวิน และธาตุเหล็ก และงานวิจัยบ่งชี้ว่าคนที่งดอาหารเช้ามักจะไม่ได้รับสารอาหารที่ต้องการเพียงพอในแต่ละวัน
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เด็กที่กินอาหารเช้าเรียนรู้ได้ดีกว่า สอบได้คะแนนมากกว่า และมีปัญหาด้านพฤติกรรมน้อยกว่า นี่คือผลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลับฮาร์วาร์ด ส่วนผู้ใหญ่ก็จะตื่นตัวกว่า และทำงานได้ดีกว่าเช่นกัน ถ้าหาเวลากินอาหารเช้า ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก คนเรามักชอบงดอาหารเช้าเพื่อควบคุมน้ำหนัก แต่กลับทำให้การลดน้ำหนักล้มเหลว เพราะการงดอาหารเช้าทำให้หิวมากขึ้นใน ช่วงหลังๆ ของวัน และสงผลให้บริโภคมากขึ้น ในการวิจัยของมหาวิทยาลัยเท็กซัส ในเมืองเอลปาโซ ซึ่งศึกษาการจดบันทึกการกินอาหารของหญิงและชาย 586 คน พบว่ายิ่งคนเรากินอาหารมากขึ้นเท่าไหร่ในตอนเช้า พวกเขาก็ยิ่งบริโภคน้อยลงตลอดทั้งวัน



เริ่มต้นมื้อเช้าคุณภาพ
# การกินอาหารเช้าอาจช่วยให้มีพลังความสามารถเพิ่มมากขึ้นในช่วงสายหรือกลางวัน มีสมาธิในการทำงานและแก้ปัญหา มีความสนใจได้ยาวนานกว่า ทั้งยังช่วยลดความหงุดหงิดและเพิ่มความอดทนอดกลั้นได้ดีกว่าด้วย เอาล่ะ เมื่อเราเห็นประโยชน์แล้ว ก็หันมาใส่ใจกับอาหารเช้าได้แล้ว

# วางแผนไว้ล่วงหน้า ปรับปรุงคุณภาพทางโภชนาการของอาหารเช้าให้ประสบความสำเร็จ คือการเตรียมการไว้ล่วงหน้าสักหนึ่งคืน และใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในช่วงเช้าเพื่อลงมือจัดอาหารเช้าที่ง่ายและได้ประโยชน์ครบถ้วน ช่วยสร้างความรู้สึกสนุกสนาน การเลือกรับประทานอาหารอย่างฉลาดและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน สำหรับการเริ่มต้นใหม่ จะช่วยทำให้เวลาที่เหลือในวันนั้นมีศักยภาพมากขึ้น


# เลือกอาหารเช้าอย่างง่าย คนส่วนใหญ่มักอ้างเหตุผลของการไม่ทานอาหารเช้าเพราะ “ไม่หิว” หรือ “ไม่มีเวลา” แต่อุปสรรคนั้นแก้ไขได้ง่ายเพียงแค่เลือกเมนูอาหารเช้าที่ปรุงง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก สำหรับคนที่ชินกับการไม่ทานอาหารเช้า เริ่มจากกินนิดๆ หน่อย ๆ ปริมาณน้อย ๆ และตั้งใจทำให้กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของคุณให้ได้ก็พอ

# เน้นไขมันต่ำ เส้นใยสูง อาหารที่มีเส้นใยสูงดีต่อระบบย่อยอาหารและการควบคุมน้ำหนักตัว อาหารมื้อเช้าควรมีปริมาณเส้นใย 3-5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค การเลือกรับประทานขนมปังโฮลวีต กับแยม Best foods สูตรเพิ่มเนื้อผลไม้เป็นอาหารมื้อแรกของวันจะช่วยให้ร่างกายของเราได้รับปริมาณสารอาหารประเภทเส้นใยสูง ไขมันต่ำ อีกทั้งยังได้วิตามินซีจากผลไม้ในแยมด้วยและให้พลังงาน โดยไม่ทำให้กระเพาะทำงานหนักเกินไป


ข้อมูลจาก : http://www.womaninfocus.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น